ประวัติผู้จัดทำ

ครูวีรชัย มาตรหลุบเลา
ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านหนองอย่างวัว
อำเภอ อาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
สังกัด สพป.ร้อยเอ็ด 2


เกี่ยวกับผู้เขียน

ชื่อ  นายวีรชัย  มาตรหลุบเลา     เบอร์โทรติดต่อ   089-5722345
 ปีเกิด 24  สิงหาคม  พ.ศ. 2500
การศึกษา ปริญญาโท  สาขาเทคโนโลยีการศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. 2548
สถานที่ทำงานปัจจุบัน โรงเรียนบ้านหนองย่างงัว  ตำบลโหรา  อำเภออาจสามารถ  จังหวัดร้อยเอ็ด
ข้อมูลการดำรงตำแหน่ง  
                   -  ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ 3 ระดับ 8  (สาขาดนตรี) เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2545
                   - ปัจจุบัน ตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษ
ความสามารถพิเศษ  -
                   1. มีประสบการณ์ด้านการสอนวิชาดนตรีหลายชนิด ทั้งดนตรีไทย สากล และดนตรีพื้นบ้าน
                   2. มีประสบการณ์การสอนวิชาคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน
                   3. มีประสบการณ์การเรียนการสอนกลุ่มสารการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (โดยเฉพาะแขนงงานเกษตร)
ผลงานดีเด่น/ผลงานที่น่าภูมิใจ
                   ผลงานเกี่ยวกับครู
                         1. เคยได้รับเกียรติบัตรครูดีเด่นกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพ(หลักสูตรเก่า) ทั้งในระดับจังหวัดและระดับเขตการศึกษาหลายครั้ง
                         2. เป็นวิทยากรด้านคอมพิวเตอร์และ ICT ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2   
                         3. เป็นวิทยากรและที่ปรึกษาแก่เพื่อนครู ผู้สนใจ ในการพัฒนาผลงานทางวิชาการ
ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทุกระดับชั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา
                         4. พัฒนาการเรียนการสอนวิชาดนตรีและผลงานทางวิชาการสาขาดนตรี จนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ 3 ระดับ 8  สาขาดนตรี ปีพ.ศ. 2545
                   ผลงานเกี่ยวกับนักเรียน
                         1. พัฒนาการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีทักษะ ความสามารถ และเจตคติที่ดีในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยเฉพาะการสอนคอมพิวเตอร์และงานเกษตร ในรูปแบบการสอนแบบโครงงาน มีผลงานปรากฏในระดับกลุ่มโรงเรียน ระดับศูนย์เครือข่ายและในระดับเขตพื้นที่การศึกษาหลายครั้ง
                         2. สามารถพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีทักษะความสามารถค้านดนตรี โดย
เฉพาะดนตรีพื้นบ้านอีสานนักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทักษะในการเล่นดนตรีทั้งพิณ แคน โปงลาง
โหวด และเครื่องกำกับจังหวะอื่นๆ จัดตั้งเป็นวงดนตรีพื้นเมืองของโรงเรียนและอนุรักษ์ไว้จนถึงปัจจุบัน
                         3. นักเรียนที่ฝึกหัดดนตรีพื้นบ้านและเข้าร่วมการแข่งขันทักษะทางวิชาการได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับภูมิภาคหลายรายการเป็นประจำ โดยเฉพาะทักษะการเป่าแคนในระดับประถมศึกษา
งานอดิเรก/อาชีพเสริม
                   1. ชอบเป่าแคนในเวลาว่างๆ
                   2. ทำสวนผลไม้ ปลูกมะม่วงพันธุ์โชคอนันท์ จำนวน  20 ไร่
                   3. ทำสวนมะนาว ปลูกมะนาวแป้นดกพิเศษ จำนวน 100  ต้น (มีกิ่งพันธุ์จำหน่าย)
                   4. ทำสวนยางพารา  70  ไร่

ความเป็นมา/ความสนใจเกี่ยวกับดนตรี (การเป่าแคน)
                   เป็นผู้ที่มีความสนใจดนตรีมาตั้งแต่วัยเด็ก มีความชื่นชอบการเล่นดนตรีทุกประเภท และจะพยายามฝึกหรือเล่นดนตรีทุกอย่างที่มีโอกาสได้เล่น  ดนตรีชิ้นแรกที่มีความชื่นชอบและประทับใจคือ  “แคน  ซึ่งเป็นดนตรีพื้นบ้านอีสานที่มีความโดดเด่นมากในช่วงเวลานั้น(ประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา)  ในช่วงเวลานั้นวันหนึ่งได้ยินเสียงแคนจากหมู่บ้านอื่นดังข้ามทุ่งนามาได้ยินแผ่วๆ ชัดบ้างไม่ชัดบ้างแต่ฟังแล้วไพเราะจริงๆ (ซึ่งปัจจุบันรู้แล้วว่าเสียงนั้นคือเสียงแคนลายใหญ่ หรือลายล่องใหญ่ หรือลายอ่านหนังสือใหญ่)  ด้วยความสนใจในดนตรีขณะที่เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  จึงได้มีโอกาสฝึกหัดดีดพิณ ก็ฝึกได้เป็นที่พอใจในระดับหนึ่ง จากนั้นก็มีโอกาสฝึกดนตรีอื่นๆ อีกมากทั้งดนตรีไทยและสากลเรื่อยมาจนกระทั่งเรียนจบชั้นประกาศนียบัตรการศึกษา(ป.กศ.) ก็มาบรรจุเป็นครู(ป.กศ.เตี้ย)ก็ยังนึกถึงเสียงแคนที่ดังแว่วก้องหูเมื่อสมัยยังเป็นเด็กอย่ไม่หาย จึงเริ่มฝึกหัดเป่าแคนอีกครั้งหนึ่ง ฝึกเป่ามาเรื่อยๆ ตามที่เวลาและโอกาสจะอำนวย เป่าถูกบ้างผิดบ้าง จนกระทั่งได้รู้จักกับครูแคนชื่อดังที่มีฝีมือการเป่าแคนที่ดีเยี่ยมของเมืองไทย ชื่อ พ่อใหญ่ทองคำ  (ขณะนั้นท่านเป็นหมอแคนประจำตัวของหมอลำ ฉวีวรรณ ดำเนิน) จึงได้ไปเรียนฝึกเป่าแคนกับท่าน โดยเริ่มฝึกใหม่ตั้งแต่ขั้นต้นจนกระทั่งเป่าลายแคนได้ (ปัจจุบันครูแคนท่านนี้ได้เสียชีวิตแล้ว) ฉะนั้นผู้เขียนในฐานะเป็นคนอีสานที่มีความชื่นชมในความไพเราะของเสียงแคนจึงได้นำเอารูปแบบการฝึกและลายแคนต่างๆ ที่ได้เรียนมา เอามาเผยแพร่สู่นักเรียน เยาวชนรุ่นหลัง และผู้สนใจทั่วไป และเพื่อให้เป็นการบูชาและลำรึกในพระคุณของบูรพาจารย์ผู้สร้างสรรค์ลายแคนทั้งหลายเหล่านี้ เราจึงควรช่วยกันสืบทอด เผยแพร่ และอนุรักษ์ไว้ให้เป็นมรดกทางดนตรีที่ล้ำค่าของคนอีสานให้ยิ่งยืนนานคู่ชาติไทยตลอดไป

ไม่มีความคิดเห็น: