บทที่ 1
ความสำคัญของการใช้ลมในการเป่าแคน
การฝึกใช้ลมในการเป่าแคน เป็นการบังคับทิศทางและน้ำหนักของลม ที่เป่าเข้าหรือดูดออกจากรูเป่าของเต้าแคน
โดยใช้อวัยวะต่างๆ เช่น ริมฝีปาก ลิ้น และฟัน ทั้งนี้เพื่อให้ได้เสียงแคนที่มีจังหวะหนักหรือเบาตลอดจนมีเสียงสั้นหรือเสียงยาวได้ตามต้องการจึงกล่าวได้ว่าเสียงแคนจะไพเราะหรือไม่เพียงใดขึ้นอยู่กับคุณภาพ ของลมที่เป่าเข้าหรือดูดออก
ดังนั้นการใช้ลมเป่าแคนที่ถูกวิธีจึงเป็นหัวใจสำคัญที่สุดอันดับแรกที่ผู้เป่าแคนทุกคนจะต้องฝึกให้ได้
จึงจะนำไปสู่การสร้างสรรค์เสียงแคนให้มีความไพเราะน่าฟังในการฝึกขั้นต่อไปได้
ปัจจุบันถึงแม้จะมีการรณรงค์
ส่งเสริม และอนุรักษ์วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านอีสานในสถานศึกษา(ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ตลอดทั้งผู้สนใจทั่วไปอย่างกว้างขวางก็ตาม จากการสังเกตการฝึกเป่าแคนของเด็กเยาวชนและผู้สนใจดังกล่าวที่สามารถเป่าแคนให้ได้เสียงแคนที่มีความไพเราะจริงๆ
นั้นยังมีน้อย ส่วนใหญ่เป่าตามโน้ตทำนองได้
แต่เสียงแคนมีจังหวะเบาไม่หนักแน่น
เสียงแคนไม่กระชับ เสียงแคนไม่ไพเราะเท่าที่ควร ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงนั้นส่วนหนึ่งเกิดจากความผิดพลาดของการฝึกในระยะเริ่มแรก
คือ การฝึกใช้ลมเป่า ที่ไม่ถูกวิธี มีการแบ่งจังหวะลมเป่าไม่ถูกต้องจนติดเป็นนิสัยที่แก้ไขได้ยาก
จึงกลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเป่าแคนไม่ไพเราะ
ดังนั้นเพื่อเป็นการฝึกปฏิบัติที่ถูกวิธีจนติดเป็นนิสัย อันดับแรกโดยเฉพาะผู้เริ่มต้นฝึกเป่าแคนจะต้องฝึกการเป่าลมเข้าและดูดลมออกให้ถูกวิธีก่อน
เมื่อสามารถควบคุมทิศทางและจังหวะในการเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกได้ดีแล้ว
จึงจะนำไปสู่การเป่าแคนที่ไพเราะได้
ซึ่งการใช้ลมเป่านั้นมีหลายลักษณะหรือหลายรูปแบบที่ผู้ฝึกเป่าจะต้องเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ เช่น การฝึกเป่าแบบใช้ลมยาวๆ การใช้ลมสั้นๆโดยการแบ่งจังหวะลมเป็นชาวงสั้นๆ ฝึกเป่าให้มีเสียงหนักเสียงเบา นอกจากนี้ยังมีวิธีการฝึกเป่าให้เสียงแคนมีลักษณะแตกต่างกันหลายๆ
แบบ เช่น
การเป่าผ่อน เป่าตัดลม เป่าสะบัด และเป่าอ้อน เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการปฏิบัติเราจึงควรทบทวนเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีใช้ลมเป่าตามลำดับ
ดังนี้
การเป่าแคน คำว่า “ การเป่าแคน” เป็นกิริยาการกระทำสองลักษณะ ที่ทำให้เกิดเป็นเสียงแคน คือ“การเป่า”เป็นการเป่าลมผ่านทางรูเป่าเข้าไปในเต้าแคน
เมื่อลมผ่านลิ้นแคนเข้าไปในกู่แคนก็จะเกิดการสั่นสะเทือนแล้วเกิดเสียงดัง ส่วน “การดูด” เป็นการดูดลมให้กลับออกมาจากเต้าแคน(ดูดกลับคืน) ขณะที่ลมผ่านลิ้นแคนกลับออกมาก็จะเกิดการสั่นสะเทือนแล้วเกิดเสียงดังเช่นเดียวกับการเป่า ดังนั้นทั้งการเป่าลมเข้าและดูดลมออกที่ทำให้เกิดเสียงแคนจึงเรียกรวมกันว่า
“การเป่าแคน” ซึ่งโดยปกติทั้งการเป่าและการดูดจะเกิดขึ้นพร้อมกันกับการหายใจของผู้เป่า
คือ ขณะ ที่หายใจออกจะเป็นการเป่าลมเข้าไปในเต้าแคน และขณะที่หายใจเข้าจะเป็นการดูดลมออกจากเต้าแคน
ทำสลับกันไปเช่นนี้โดยอัตโนมัติตามช่วงการหายใจเข้าและหายใจออก จะเริ่มต้นด้วยการเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกก็ได้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้เป่าเป็นสำคัญ
การฝึกใช้ลมในการเป่าแคนให้มีความไพเราะ
การฝึกใช้ลมในการเป่าแคนให้ได้เสียงแคนมีความไพเราะ มี
แนวทางในการปฏิบัติที่สำคัญที่ผู้ฝึกเป่าแคนจะต้องศึกษาให้เข้าใจ
ดังนี้
1. การฝึกใช้ริมฝีปาก ลิ้นและฟัน
ในการเป่าแคน การทำให้เสียงแคนมีจังหวะหนักหรือเบามีหลายวิธี
วิธีการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันของหมอแคนที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย คือ ในขณะ ที่เป่าแคนให้ทำริมฝีปากห่อเข้าและบีบเข้าหากันให้เหลือเป็นรูเล็กๆเพื่อ ให้ลมที่เป่าผ่านออกมาหรือดูดเข้าไปในปากมีกำลังแรง ซึ่งจะทำให้เสียงแคนมีความกระชับ
หนักแน่น กังวานและชัดเจนสม่ำเสมอ ดังภาพตัวอย่างรูปแบบการออมริมฝีปาก ภาพที่1-2
ภาพที่1 รูปปากด้านข้าง ภาพที่ 2 รูปปากด้านหน้า
ภาพที่1 รูปปากด้านข้าง ภาพที่ 2 รูปปากด้านหน้า
2. การ ฝึกใช้ลมเป่าที่ถูกวิธี การเป่าจะเลือกฝึกเป่าคู่เสียงใดก่อนก็ได้
เช่น ถ้าจะฝึกเป่า ลา วิธีปฏิบัติ คือ ขณะที่ปิดรูนับเสียง ลา (ล
ลฺ)ให้ออมริมฝีปากบีบเข้าหากันทำเป็นรูเล็กๆ และเผยอริมฝีปากให้บานออกเล็กน้อย
จรดริมฝีปากแนบชิดกับรูเป่าแล้วเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกคล้ายๆ กับจะเปล่งเสียงของตัวพยัญชนะ
“ ด หรือ ดร หรือ ต หรือ ล หรือ
จ ” โดยเปล่งออกมาเป็นสำเนียงของคำว่า “ดู” หรือ
“แด” หรือ “ตู” หรือ “แต”
หรือ “แดน” หรือ “แลน” “แจน” หรือ “แลน แจน” ดังนี้เป็นต้น
แต่ด้วยโครงสร้างทางสรีรของปากและฟันแต่ละบุคคลที่แตกต่างกัน จึงอาจทำให้คุณภาพในการออกเสียงหรือการดูดลมเข้าการเปล่งลมออกแตกต่างกัน
และอาจทำให้เสียงดังของแคนมีความไพเราะชัดเจนต่างกันด้วย ดังนั้นผู้เป่าแคนจะต้องสังเกตเสียงแคนที่ตนเองเป่าว่าวิธีเปล่งลมเป่าแบบใดที่ทำให้เสียงแคนมีความไพเราะ
กังวาน กระชับ ชัดเจน และหนักแน่นมากที่สุดก็ให้เลือกฝึกวิธีเป่าที่ตนถนัดนั้นให้คล่อง
เพื่อนำไปใช้ในการเป่าลายแคนให้ไพเราะการฝึกขั้นต่อไป
3. จังหวะความเร็วในการใช้ลมเป่าแคน
มี 2 แบบ ดังนี้
3.1ลมชั้นเดียว หรือบางทีเรียกว่า“ลมเดียวหรือลมยาว” เป็นการเป่าหรือดูดลมออกช่วงจังหวะเดียวเสียงเดียวหรือหลายเสียงก็ได้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทำนองและจุดประสงค์ของผู้เป่า การใช้ลมแบบนี้ส่วนมากจะใช้ในการเป่าผ่อนลม
การเป่าสะบัด และเป่าอ้อน ซึ่งเป็นการเป่าลมยาวโดยในที่ขณะเปล่งลมออกให้ออมริมฝีปากคล้ายกับจะเปล่งเสียงของคำว่า
“ดู” หรือ “แด” หรือ “ตู”
หรือ “แต” หรือ “แดน” พร้อมกับกระดกปลายลิ้นปิดทางลมแล้วรีบเปิดออกโดยทำสลับกันไปเรื่อยๆ
ช้าๆ ตามลักษณะลมเป่าที่เหมาะสมกับตนเองดังที่กล่าวมาแล้ว
ดังนั้นเริ่มแรกจึงควรฝึกเป่าเป็นช่วงลมยาวๆ
ตามลมหายใจเข้าและลมหายใจออกอย่างเป็นธรรมชาติจนเกิดความเคยชิน และควรฝึกเป่าสลับเสียงเปลี่ยนกันไปให้ครบทุกคู่เสียงจนเกิดความชำนาญ
3.2 ลมสองชั้น บางทีเรียกว่า“ลมสั้น หรือ ลมเร็ว”เป็นการ ผันลิ้นในขณะที่เปล่งลมเป่าหรือดูดลมเข้าโดยการกระดกปลายลิ้นขึ้นปิดกั้นลมที่เปล่งออกมาให้หยุดแล้วรีบเปิดออกสลับกันเป็นช่วงสั้นๆ
อย่างเร็วและต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ลมที่เปล่งออกมาหรือลมที่ ดูดเข้าไปถูกแบ่งออกเป็นช่วงสั้นๆ
ช่วงละ1 จังหวะย่อยในแต่ละห้องเพลง (หรือ 1 ห้องเพลงจะเปล่งลมออกหรือดูดลมเข้าเป็นช่วงสั้นๆ 4
ครั้ง) ดังนั้นการผันลิ้นเพื่อแบ่งลมเป่าเป็นช่วงสั้นๆ
สลับกันอย่าง ต่อเนื่องและเร็วเช่นนี้จึงเรียกว่า “ลมสองชั้น” ซึ่งจังหวะการใช้ลมแบบนี้ส่วนใหญ่จะนำไป
ใช้ในการเป่าตัดลม (จะกล่าวรายละเอียด ในลำดับต่อไป)
4. วิธีใช้ลมในการเป่าแคน เมือฝึกการใช้ริมฝีปาก ลิ้น และฟัน พร้อมการผันลิ้นในการบังคับลมเป่าหรือการแบ่งลมเป่าออกเป็นช่วงๆ
จนครบทุกคู่เสียงและเกิดความชำนาญแล้วควรฝึกการใช้ลมเป่าแบบต่างๆ ดังนี้
4.1 เป่าผ่อน เป็นการเป่าลมเดียวเป็นเสียงยาวติดต่อกัน
โดยการเน้นเสียงให้ดังแล้วค่อยผ่อนลมให้เสียงเบาลง บางทีเรียกว่า การเป่าลมยาวหรือลมชั้นเดียว
วิธีเป่าผู้เป่าต้องออมริมฝีปากห่อเข้า หากันแล้วเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกมาให้ยาว
แล้วค่อย ๆ ระบายลมเข้าหรือออกอย่างสม่ำเสมอ
การเป่าแบบนี้ใช้ในการเลียนเสียงทำนอง บทออนซอน
(ทำนองที่ใช้เสียงยาวและจังหวะอิสระ ใช้ในทำนองทางสั้นที่เป็นเสียงยาว เป็นการเป่าลมเข้าและดูดลมออก ช้าๆ มีทั้งการเป่าควบคุมจังหวะและไม่เป็นจังหวะหรือจังหวะอิสระ
คือไม่กำหนดความยาวหรือความถี่ของจังหวะ ผู้ฝึกสามารถเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกได้นานตามที่ตนเองกำหนด ควรฝึกควบคุมลมเป่าให้สม่ำเสมอทุกระดับเสียง
ให้เสียงเดียวกันที่ดังออกมาระหว่างการเป่าลมเข้าและดูดลมออกมีสำเนียงเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันให้มากที่สุด
4.2 เป่าสะบัด เป็นการเป่าที่โยงเสียงสั้นๆ
ประมาณ สองสามเสียงเพื่อเข้าสู่เสียงจังหวะหนักที่ตองการเน้นเสียง
หรือเป็นการเป่าให้เสียงแคนดังออกมาสองสามเสียงก่อนถึงเสียงหลัก ที่ต้องการเน้น วิธีการเป่าตัดผู้เป่าต้องใช้การเป่าลมเดียวให้ได้เสียงสองเสียงหรือสามเสียงและเป่าตัดปิดท้ายที่เสียงหลักที่ต้องการเน้น ข้อสำคัญของการเป่าสะบัดคือ
นี้ที่ปิดรูนับต้องเคลื่นอที่อย่างรวดเร็วเสียงสะบัดจึงจะไพเราะ
4.3 เป่าอ้อน หรือฮ่อน เป็นการเป่าเสียงยาวให้เสียงสั่นสะเทือนเป็นคลื่น
โดยการเป่าเสียงหลักสลับกับเสียงข้างเคียงอย่างรวดเร็ว เวลาเป่าต้องเขย่าลมผสมกับการพรมนิ้วบนรูนับ
เช่น ถ้าเป่าอ้อนที่เสียง โด ก็ใช้เสียง เร สลับอย่างรวดเร็วโดยการพรมนิ้วที่เสียง
เร เป็นต้น
4.4
เป่าตัด เป็นการเป่าแคนที่ได้เสียงสั้นหรือเป่าครั้งละเสียง
วิธีเป่าให้ออมริมฝีปากห่อเข้าหากันแล้วเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกมาอย่างแรงพร้อมกับกระดกปลายลิ้นขึ้นปิดกั้นลมที่เปล่งออกมาให้หยุดหรือแบ่งเป็นช่วงๆอย่างรวดเร็วเพื่อแบ่งลมเป่าออกเป็นช่วงๆ
ตามอัตราจังหวะของเสียงหรือทำนองของลายแคน บางที่จึงเรียกว่า “ลมสั้น” หรือ
“ลมสองชั้น” ควรฝึกผันลิ้นในการเป่าลมเข้าและดูดลมออกสลับกันให้ครบทุกคู่เสียงจนเกิดความชำนาญ
ดังตัวอย่าง
ตัวอย่างการฝึกเป่าตัดลม
แบบที่1 เป่าตัดลม 1
ครั้ง ใน 1 จังหวะ
ฝึกเปล่งลมเป่า
1 จังหวะใน 1 ห้องเพลง เช่นขณะปิดคู่เสียงและเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกพร้อมกระดกปลายลิ้นเพื่อแบ่งลมเป่าออกเป็นช่วงๆ
โดยเปล่งลมเป่าคล้ายกับจะพูดคำว่า “ดู” ติดต่อกันเป็นจังหวะเท่ากับเสียงของ ตัวโน้ตในแต่ละห้องเพลง เช่น การเป่าสียง ลา
วิธีปฏิบัติ
ขณะปิดรูนับเสียง ลา
แล้วเปล่งลมเป่าคำว่า “ดู” ระดับเสียงที่ผู้ฟังได้ยิน คือเสียง “ลา” ซึ่งมีจังหวะหนักแน่น ชัดเจน
และจังหวะตกตรงกับโน้ตตัวสุดท้ายของแต่ละห้องเพลง ให้ฝึกเป่าเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
โดยเปลี่ยนสลับเป็นคู่เสียงอื่นๆ ให้ครบทุกเสียง (โด เร มี ฟา ซอล ลา ที)
พร้อมทั้งเปลี่ยนการเปล่งลมเป่าเป็นเสียงแบบอื่นๆ เช่น “แด” หรือ “แดน” หรือ “แลน” หรือ “แจน” ดังนี้เป็นต้น ควรฝึกใช้ลมเป่าให้เกิดความเคยชิน เพื่อใช้ในการฝึกเป่าลายแคนในขั้นตอนต่อไป
ตัวอย่างการเป่าตัดลม
แบบที่ 2 ฝึกเป่าตัดลม 2
ครั้ง ใน1จังหวะ
ขณะปิดคู่เสียงและเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกพร้อมกับกระดกปลายลิ้นเพื่อแบ่งลมเป่าออกเป็น
2 จังหวะย่อยใน 1ห้องเพลง โดยเปล่งลมเป่าคล้ายกับจะพูดคำว่า
“แลน แจน” ติดต่อกัน เช่น การเป่าเสียง ลา
วิธีปฏิบัติ
ขณะปิดรูนับเสียง ลา แล้วเปล่งลมเป่าคำว่า “แลน แจน” ระดับเสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะเป็นเสียง “ลา ลา”
ซึ่งมีจังหวะหนักแน่น ชัดเจน และมีจังหวะตกตรงกับโน้ตตัวสุดท้ายของแต่ละห้องเพลง (ตรงกับลมเป่าคำว่า
“ แจน” ให้ฝึกเป่าเช่นนี้ไปเรื่อยๆ โดยเปลี่ยนสลับเป็น คู่เสียงอื่นๆ ให้ครบทุกเสียง(โด เร มี ฟา ซอล
ลา ที)พร้อมทั้งเปลี่ยนการเปล่งลมเป่าเป็นแบบอื่นๆ เช่น “แดน
แดน” หรือ “แลน แดน”
หรือ “ แลน แจน” หรือ “แลน แตน
” ดังนี้เป็นต้น แล้วเลือกเสียงที่ชัดเจนและเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด ควรฝึกใช้ลมเป่าที่ถนัดให้เกิดความเคยชินและติดเป็นนิสัยเพื่อนำไปใช้ในการฝึกเป่าลายแคนในขั้นตอนต่อไป
ตัวอย่างการเป่าตัดลม
แบบที่ 3 ฝึกเปล่งลมเป่ามากกว่า 2 จังหวะย่อยใน 1 ห้องเพลง
ขณะปิดคู่เสียง
เป่าลมเข้าหรือดูดลมออกโดยแบ่งลมเป่าออกเป็นช่วงๆ พร้อมเปล่งลมเป่าติดต่อกันเป็น 1-4 จังหวะย่อย ใน 1 ห้องเพลง เช่น
ตัวอย่างการเป่าเพลงเต้ยโขง
โดยฝึกใช้ลมเป่าทั้งลมยาวและลมสั้น
วิธีปฏิบัติ
ขณะปิดรูนับคู่เสียงตามโน้ตพร้อมเปล่งลมเป่าคล้ายกับเสียงของคำว่า“แด หรือ
แดน” ระดับเสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะเป็นเสียงที่มีจังหวะหนักแน่น ชัดเจน ให้ฝึกเป่าเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
หรือเปลี่ยนวิธีการเปล่งลมเป่าให้เป็นเสียงแบบอื่นๆ เช่น “ ดู ” หรือ “ แดน ” หรือ “ แลน แดน” หรือ “แลน แตน ” ดังนี้เป็นต้น ควรฝึกใช้ลมเป่าให้เกิดความเคยชินและติดเป็นนิสัยเพื่อนำไปใช้ในการฝึกเป่าลายแคนในขั้นตอนต่อไป
ข้อสังเกต จากตัวอย่างการเป่าเพลงเต้ยโขง
จะสังเกตเห็นว่าระดับเสียงที่มีอัตราจังหวะเท่ากับ 2 จังหวะย่อย ส่วนใหญ่จะเปล่งลมออกคล้ายกับเสียงของคำว่า แดน ส่วนคำว่า แด จะตรงกับระดับเสียงที่มีอัตราจัหวะเท่ากับ 1 จังหวะย่อย
(